วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความพอเพียงของสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา


โดย...อดิศร ก้อนคำ


ในปัจจุบันเป็นโลกแห่งเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษยเราเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต การทหาร การแพทย์ เศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งในด้านการศึกษา ดังจะเห็นได้จากโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากผลของการปฏิรูปการศึกษา มีการยุบรวมสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษาและกรมวิชาการ แปลงร่างกลายมาเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. และมีการจัดตั้งสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนขึ้นมาเป็นหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีการศึกษานับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ประเทศไทยของเราจะได้ดำเนินกิจการด้านการศึกษาให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ ที่จะมุ่งเน้นการใช้สื่อการสอนที่ดี ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ที่ใช้คำว่าบริหารจัดการศึกษานั้น ก็เพราะว่า ในปัจจุบันเราไม่ควรที่จะคิดว่าใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนเท่านั้น เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น มีมากมายหลากหลายสิ่งที่จะใช้ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการใช้เทคโนโลยีในส่วนของการบริหารด้วย ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่นี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักและสามารถบริหารจัดการในเรื่องของการผลิต จัดหาและใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน


ในส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ก็คือ สื่อการเรียนการสอน ซึ่งปัจจุบันก็คงจะไม่พ้นสื่อการสอนประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพราะสื่อการสอนประเภทคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความสามารถหลากหลายที่จะรวมสิ่งต่างๆ เข้ามาอยู่ในสื่อชุดเดียวกัน หรือเรียกได้ว่าครบเครื่องเรื่องความรู้ สื่อการสอนประเภทนี้เราเรียกกันว่า สื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ซึ่งมีทั้งตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวิดีทัศน์ แต่สื่อมัลติมีเดียแบบใด จึงจะตรงกับความต้องการและเกิดการเรียนรู้มากที่สุด


แต่จะทำเช่นไร เมื่อประเทศไทยมีสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานถึง 3 หมื่นกว่าโรง ที่มีปัจจัยพื้นฐานต่างๆ กันออกไป ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของจำนวนนักเรียน จำนวนครู เศรษฐกิจ ชุมชน ฯลฯ และจำนวนสื่อที่หน่วยงานที่เพิ่งจะจัดตั้งขึ้นมาใหม่นี้ก็มีไม่หลากหลายพอที่จะนำไปแจกจ่ายให้กับสถานศึกษา เพราะนอกจากเราจะคำนึงถึงเรื่องปริมาณและความหลากหลายเพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่ได้ เราต้องคำนึงถึงเรื่องของคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อด้วย


หากท่านเป็นคนที่อยู่ในแวดวงการศึกษาก็จะเห็นว่ามีผลงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาหลายๆ เรื่องที่ผลิตออกมาและล้วนแล้วแต่เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบ้าง ลิขสิทธิ์ของเอกชนบ้าง ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถนำสื่อการเรียนการสอนเหล่านี้มาคัดเลือก หรือนำมาแจกให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งเป็นรากฐานของบุคคลที่จะเติบโตมาเป็นกำลังของชาติในอนาคต


เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น มีหลายชิ้นที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้แต่ในงานวิจัยเท่านั้น ไม่ได้มีการนำไปเผยแพร่โดยทั่วไป ดังนั้นหากจะทำการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษาแล้ว เราควรที่จะหันมามองสิ่งที่มีอยู่แล้วด้วย ว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ ผนวกกับการพัฒนาสื่อชิ้นใหม่ๆ ให้เหมาะสม นั่นคือสิ่งที่นักเทคโนโลยีการศึกษาทั้งประเทศไทยควรจะหันมามอง เพื่อเป็นแรงผลักดันให้กับผู้ที่มีอำนาจในการจัดการศึกษาในภาพรวมของประเทศได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีสื่อการเรียนการสอนเหล่านี้ในส่วนกลางเพื่อให้ผู้ใช้สามารถมาหยิบนำไปใช้ได้


แนวความคิดนี้ อาจจะเป็นเพียงประกายเล็กๆ จากคนตัวน้อยๆ ที่มองเห็นเท่านั้น หากท่านมีความคิดดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ช่วยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเข้ามาครับ

แนวคิดการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์

บทนำยุคสมัยนี้ คนในสังคมกำลังตื่นตัวและกระหายความรู้ทางคอมพิวเตอร์กันอย่างมาก ทำให้การจัดการเรียนการสอนในระดับโรงเรียนจัดไม่ทันกับความต้องการของตลาดแรงงาน จึงทำให้มีการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนกันมากขึ้น หรือเป็นลักษณะของโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์เอกชน การจัดอบรมคอมพิวเตอร์ตามสถาบันราชการและธุรกิจ

แม้ว่าในระยะสี่ห้าปีที่ผ่านมานี้สถาบันการศึกษาหลายแห่ง ได้เริ่มผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และเป็นผู้ที่มีวิชาชีพครูด้วย ซึ่งบัณฑิตเหล่านี้สังคมคาดหมายว่าจะต้องเป็นครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถโดยตรงที่จะเข้าไปทำงานในสถานศึกษา แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าด้วยปัจจัยหลายประการ ทำให้บัณฑิตส่วนใหญ่เหล่านี้ไม่ได้เข้าไปใช้วิชาชีพของตนโดยตรง ประกอบกันมีตำแหน่งที่จะบรรจุเข้ารับราชการน้อยมาก อีกทั้งทำงานเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนสูงมากกว่ามาก ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาทั่วไปมักจะไม่ใช่ผู้ที่จบทางคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่จะเป็นผู้สอนในหมวดวิชาต่าง ๆ นั้นมีธรรมชติของสาขาวิชา และหลักวิธีการสอนต่างกันไปตามลักษณะของศาสตร์ แต่ทั้งนี้อาศัยอยู่บนพื้นฐานการจัดระบบการเรียนการสอนเดียวกันการสอนคอมพิวเตอร์เป็นการสอนในสาขาที่ยังใหม่อยู่พอสมควร ดังนั้นบทความนี้ข้อเสนอแนวคิดการเรียนการสอนแก่ผู้สอน และผู้ให้การอบรมคอมพิวเตอร์ทั้งหลายได้พิจารณาเป็นแนวทางนำไปจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน

ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมาย

การเรียน หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้สอนมีหน้าที่จัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายนั่นเอง

ในกิจกรรมการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนการที่ทั้งผู้สอนจัดประสบการณ์ ด้วยเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไป ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ สำหรับประเทศไทยมีกรสอนคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล โดยลักษณะการสอนโดยส่วนใหญ่เป็นการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) แต่สำหรับหลักสูตรคอมพิวเตอร์ที่จัดการสอนนั้นจะเริ่มตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาต่อไป ซึ่งการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แล้วมักมีเนื้อหา 3 แนวทาง คือ

- การสอนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
- การสอนเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์
- การสอนทักษะการใช้โปรแกรมประยุกต์

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ของผู้สอนคอมพิวเตอร์

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) หมายถึง ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่ง Paul G. Geisert and Mynga K. Futrell (1990:7) กล่าวไว้ว่า ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ควรมีลักษณะ 5 ประการ ดังนี้

1. รู้ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
2. เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์สามารถทำโปรแกรมได้อย่างไร
3. ตระหนักว่าจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนและช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไร์
4. หยั่งรู้ถึงธุรกิจ และอุตสาหกรรมประยุกต์ของคอมพิวเตอร์
5. ตระหนักถึงสภาพปัจจุบัน และความเป็นไปได้ในอนาคตของผลกระทบทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่อสังคม

นอกจากนี้ James Poirot, Robert Taylor and James Powell (อ้างถึงในครรชิต มาลัยวงศ์ 2530:51) กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เฉพาะขอบข่ายที่บุคลากรทางการศึกษาควรมีความรู้ในระดับที่ต่ำสุดไว้ 7 ประการ ดังนี้

1. ความสามารถในการเขียน อ่าน และการใช้งานโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ง่าย ๆ ได้
2. ความสามารถในการใช้โปรแกรมประยุกต์ด้านการศึกษา
3. ความสามารถในการพูดถึงคำศัพท์ต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะทางด้านฮาร์ดแวร์ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่วแต่ไม่ถึงกับต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ
4. ความสามารถในการรู้ตัวอย่างปัญหาการศึกษาต่าง ๆ ว่า ปัญหาใดใช้คอมพิวเตอร์แก้ได้ และปัญหาใดแก้ไม่ได้
5. ความสามารถในการหาและใช้แหล่งข้อมูลที่ทันสมัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
6. ความสามารถในการพูดอภิปรายในระดับคนธรรมดาที่เฉลียวฉลาดเกี่ยวกับประวัติคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาต้องสามารถอภิปรายได้มากพิเศษ
7. ความสามารถในการอภิปรายปัญหาเรื่องผลกรทบของคอมพิวเตอร์ต่อสังคม และจริยธรรมได้ในแนวทั่ว ๆ ไป และพูดเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์ได้มากเป็นพิเศษ

สรุปได้ว่าลักษณะของผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะบุคลากรด้านการศึกษานั้นต้องเป็นผู้ที่อ่านออก เขียนได้ คือ สามารถอ่านและเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์อย่างง่าย ๆ ได้ สามารถพูดอภิปรายเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ตลอดจนสามารถนำความรู้คอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานการศึกษาได้นั่นเอง ประเด็นที่น่าตระหนักว่าครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มากมายทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนขณะนี้ มีลักษณะเหล่านี้ครบถ้วนหรือไม่
เทคนิคและวิธีการสอนคอมพิวเตอร์
จากคำกล่าวที่ว่า "การสอนต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์" ซึ่งศาสตร์ คือ ตัวเนื้อความรู้ที่มีอยู่ในตัวผู้สอน ส่วนศิลป์ คือ ศิลปะ ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาไปสู่ผู้เรียน บางครั้งเนื้อหาเดียวกันผู้สอนต่างกัน ย่อมมีศิลปะในการถ่ายทอดต่างกันด้วย การใช้ศาสตร์และศิลป์ต้องใช้อย่างผสมผสานกลมกลืนกัน การสอนคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อผู้สอนที่มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ดีอยู่แล้ว ควรต้องพิจารณาเพิ่มศิลปะในการสอน นั่นคือ การนำความรู้ทางทฤษฎีการสอนและเทคนิควิธีการสอน ไปใช้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ทฤษฎีการสอน นักการศึกษาหลาย ๆ ท่าน ได้เสนอทฤษฎีการสอนไว้มากมายหลายทฤษฎี ซึ่งสามารถสรุปเป็น 4 ทฤษฎีใหญ่ ๆ ด้วยกัน ดังนี้ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2533:65-67)

1. ทฤษฎีการสอนของกาเย่ (Gagne) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการรู้ กล่าวถึงการเรียนรู้ของบุคคลว่าจะเกิดขึ้นได้ดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยนู่กับสภาพการณ์ทั้งภายในและภายนอกผู้เรียน (Internal and External Conditions) และเหตุการณ์ในการเรียน (Events of Lerning) จัดเป็นลำดับสภาพการณ์ในการเรียนรู้เป็น 9 ขั้น คือ

1.1 การเร้าความสนใจ
1.2 แจ้งจุดมุ่งหมายแก่ผู้เรียน
1.3 สร้างสถานการณ์เพื่อดึงความรู้เดิม
1.4 เสนอบทเรียน
1.5 ชี้แนวทางการเรียนรู้
1.6 ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
1.7 การให้ข้อมูลย้อนกลับ
1.8 การจัดการปฏิบัติ
1.9 ย้ำให้เกิดความจำและการถ่ายโอนความรู้

2. ทฤษฎีการสอนของเมอร์ริลไรเกลท (Merrill - Reigelath) แสดงทัศนะว่าการสอนเป็นกระบวนการที่เสนอเป็นขั้นตอนที่ละเอียดและต่อเนื่อง ดังนี้

2.1 เลือกหัวข้อปฏิบัติทั้งหลายที่จะสอนด้วยการวิเคราะห์ภารกิจ
2.2 ตัดสินใจว่าจะสอนข้อภารกิจใดเป็นอันดับแรก
2.3 จัดลำดับก่อนหลังของข้อภารกิจที่เหลือ
2.4 ชี้บ่งเนื้อหาที่สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ
2.5 จัดเนื้อหาเข้าบทเรียนและจัดลำดับบทเรียน
2.6 จัดลำดับการสอนภายในบทเรียนต่าง ๆ
2.7 ออกแบบการสอนในแต่ละบทเรียน

3. ทฤษฎีการสอนของเคส (Case) ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนด้านพฤติกรรมในระหว่างการสอนแต่ละขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นกับการเพิ่มความซับซ้อนของยุทธศาสตร์การคิด ผู้เรียนจะใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้เมื่อได้รับประสบการณ์อย่างมีขั้นตอน การจัดการสอนลักษณะนี้จัดลำดับตามความมุ่งหมายของภารกิจที่จะเรียน จัดลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ๆ โดยการเปรียบเทียบการคิดกับทักษะที่ผู้เรียนได้รับ มีการจัดระดับความสามารถและการปฏิบัติของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา

4. ทฤษฎีการสอนของลันดา (Landa) เป็นการดำเนินการสอนโดยใช้การจัดลำดับขั้นการแก้ปัญหาโดยบ่งชี้กิจกรรมการเรียนก่อนที่ผู้เรียนจะลงมือเรียน และจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการตามที่ได้ออกแบบไว้

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละครั้งผู้สอนมักนำทฤษฎีการสอนทั้ง 4 ประการมาประยุกต์ใช้ในการสอนของตน การจะเลือกใช้ทฤษฎีการสอนใดนั้นควรขึ้นกับจุดประสงค์รายวิชา จุดประสงค์การสอนและเนื้อหาการสอนแต่ละครั้งอาจใช้ทฤษฎีการสอนหลายประการผสมผสานกันก็ได้ และจากทฤษฎีการสอนนี้ครูอาจารย์ ผู้สอน วิทยากรที่มีหน้าที่สอน และให้มีการอบรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจมองเห็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการสอนของตน
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงต่อการจัดการสอนคอมพิวเตอร์
การสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นคงไม่สามารถจัดเข้าทฤษฎีการสอนประเภทใดประเภทหนึ่งได้โดยตรง แต่ควรนำทฤษฎีการสอนทั้ง 4 ประการ มาพิจารณาใช้ร่วมกัน การสอนคอมพิวเตอร์ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยบางประการที่จะส่งผลต่อการสอนให้สัมฤทธิผลด้วย จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนรับผิดชอบสอนรายวิชาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาพอสมควร จึงใคร่ขอเสนอปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอนคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วย ด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย

หนทางการแก้ปัญหา (Solution)
ประสบการณ์และแบบฝึกหัด (Experience and Exercises)
ความรู้ (Knowledge)
ความชอบความพึงพอใจ และการเล็งเห็นคุณค่า (Appreciation)
ความทันสมัย (Modern)

ซึ่งผู้เขียนของใช้ชื่อปัจจัยนี้ว่า SEKAM ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
หนทางการแก้ปัญหา (Solution)
การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ มักพบปัญหาอยู่ตลอดเวลา ทั้งปัญหาของผู้เรียนและผู้สอนเอง เช่น ปัญหาผู้เรียนเขียนโปรแกรมภาษา Basic แล้ว Run โปรแกรมไม่ออกผลลัพธ์ผู้สอนต้องช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้เรียนได้ โดยตรวจดูข้อผิดพลาด อาจพบว่าผู้เรียนพิมพ์รูปแบบคำสั่งผิด หรืออาจลืมพิมพ์เครื่องหลายเพียงเครื่องหมายคำพูดปิดก็ได้ แต่ถ้าไม่พบข้อผิดพลาดเหล่านี้แล้วผู้สอนต้องพิจารณาต่อไปอีกว่ายังมีข้อผิดพลาดที่ใดอีกหรือไม่ ทั้งนี้ต้องแก้ปัญหาให้ได้ ถ้ายังไม่ได้ลงมือแก้ปัญหาต้องสันนิษฐานได้ว่าปัญหานั้นน่าจะมาจากสาเหตุใด

ผลการศึกษาของ Kathleen M. Swigger, Robert Brazile, and Dongil Shin (1997) สรุปถึงการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิชาเอกการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ของมหาวิทยาลัย North Texas พบว่าการที่สอนคอมพิวเตอร์โดยใช้ผู้เรียนเรียนแบบกลุ่ม โดยใช้ทักษะร่วมมือกันแก้ปัญหา (Cooperation Problem Solvig) มีผลสำเร็จจากการแก้ปัญหาโครงการสูงถึงร้อยละ 69.8 ขณะที่การเรียนแบบคนเดียวมีผลสำเร็จเพียง ร้อยละ 47.3 เท่านั้น

กล่าวได้ว่าการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เป็นการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา ทั้งนี้ตัวผู้สอนเองต้องฝึกฝนโดยการพบปัญหา หรือเคยกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ให้เชี่ยวชาญพอ ก่อนจะมาสอน และถ้าผู้สอนสามารถแก้ปัญหาให้ผู้เรียนได้ แน่นอนว่าการยอมรับจากผู้เรียนย่อมเกิดขึ้นต่อตัวผู้สอน บางครั้งปัญหาจากผู้เรียนยังช่วยให้ผู้สอนได้มีประสบการณ์สะสมไว้ด้วยเช่นกัน ส่วนผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี จนได้ประสบการณ์ย่อมเกิดจากปัญหาที่ได้พบ และได้ฝึกการแก้ปัญหานั่นเอง
ประสบการณ์และแบบฝึกหัด
การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ที่ดีนั้น ผู้สอนควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนที่เป็นประสบการณ์ตรง การสอนคอมพิวเตอร์ควรสอนทฤษฎีน้อย ฝึกปฏิบัติการมาก เนื่องจากนักเรียนนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ย่อมต้องการใช้เครื่องมากกว่าจะฟังคำอธิบายจากครู ถ้าจำเป็นต้องสอนทฤษฎีไม่ควรใช้เวลามาก อธิบายเฉพาะทฤษฎีที่จำเป็นที่ต้องใช้ในครั้งนั้น ๆ แล้วจึงลงมือปฏิบัติการ ถ้าผู้เรียนคนใดพบปัญหาและมีข้อซักถาม ผู้สอนควรเข้าไปอธิบายที่เครื่องโดยตรงจะดีกว่า (อำพล สงวนศิริธรรม 2538:193)

เมื่อกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนจากการฝึกปฏิบัติการ โดยการใช้แบบฝึกหัดซึ่งแบบฝึกหัดควรมีทั้งในและนอกชั่วโมงเรียน เพราะแบบฝึกหัดเป็นเครื่องมือที่ดี ในการให้ประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน ตลอดจนเป็นแนวทางหนึ่งที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจความคงทนต่อการเรียนเนื้อหานั้น ๆ ได้ดีขึ้น ผู้สอนต้องถือว่าแบบฝึกหัดเป็นการสื่อการสอนที่จะช่วยผู้สอนและผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ในกรณีที่ทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน ผู้เรียนพบปัญหาและข้อสงสัยมักจะถามผู้สอน ส่วนแบบฝึกหัดที่ให้ผู้เรียนทำนอกชั่วโมงเรียนยังช่วยให้ผู้เรียนได้ทบทวนการเรียนของตนเอง ผู้สอนอาจใช้ประเมินผลการสอนของตนด้วยว่าเมื่อสอนแล้วผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์อย่างไร นอกจากนี้ผู้สอนคอมพิวเตอร์ควรมีการเตรียมการสอนโดยคิดรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และควรสร้างแบบฝึกหัดตามจุดประสงค์ และเนื้อหา การเรียนการสอนเป็นหลัก โดยที่แบบฝึกหัดนั้นต้องเน้นปฏิบัติการมากกว่าความรู้ทางทฤษฎี
ความรู้
การสอนเนื้อหาความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร ์ แยกเป็นเนื้อหาทางทฤษฎี และปฏิบัติการ การสอนทุกครั้งต้องเริ่มที่การให้ความรู้แก่ผู้เรียนก่อน จากนั้นจึงปฏิบัติการโดยใช้ความรู้ ความเข้าใจนั้น และจากความรู้พัฒนาเป็นทักษะความชำนาญต่อไป

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์บางเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น เรื่องคำสั่ง ผังงาน ควรสอนเนื้อหาในห้องเรียนธรรมดา บางเนื้อหา เช่น ประวัติคอมพิวเตอร ์ องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ ผู้สอนอาจสรุปเพียงเล็กน้อยแล้วกำหนดให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าเอง ให้ทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน รวมถึงการจัดบอร์ดนิทรรศการเผลแพร่ความรู้ด้วย โดยเป็นความรู้ที่นอกเนื้อจากแบบเรียน และหลักสูตร หรือเป็นความรู้เรื่องใหม่ เช่น อุปกรณ์ Input Output ของคอมพิวเตอร์ กล้องดิจิตอล เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
ความชอบความพึงพอใจ และการเล็งเห็นคุณค่า (Appreciation)
การเรียนถ้าเริ่มจาก ฉันทะ คือ ความชอบ ความพึงพอใจ และการเล็งเห็นคุณค่าจากเรื่องที่ตนสนใจ ต้องการได้รับความรู้แล้ว ผู้เรียนย่อมมีความสุขกับการเรียน อีกทั้งยังเป็นตัวทำนายได้ถึงความสำเร็จของผู้เรียนต่อไปด้วย

จากผลการศึกษาของ เกษมศรี พรหมภิบาล (2537) เรื่อง ผลของการสอนวิชาออกแบบ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร โดยศึกษาทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทัศนคติต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ผลการสอนวิชาออกแบบ 1 เรื่องทฤษฎีองค์ประกอบศิลป ์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้อยู่ในระดับดีมาก มีความกระตือรือร้นสนุกสนานต่อการเรียน เห็นประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเรียนการสอน

ความทันสมัย (Modern)

เนื่องจากวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มีความเจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วมากทั้งเรื่องฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตลอดจนวิธีการใหม่ จากแนวการจัดกิจกรรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2540:9) กล่าวว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ได้พัฒนาออกมาใช้ในท้องตลาดมากมาย และโปรแกรมเหล่านี้ได้พัฒนาให้สะดวกต่อผู้ใช้มากขึ้น แต่ต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงขึ้น ซึ่งตลาดพัฒนาอยู่ตลอดเวลา หลักสูตรคอมพิวเตอร์พื้นฐานจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าด้วย จากแนวความคิดดังกล่าว เนื้อหาความรู้ทางคอมพิวเตอร์ที่ผู้สอนจะนำเสนอกับผู้เรียนต้องเป็นเรื่องที่ทันสมัยสอดคล้องกับความก้าวหน้าด้วย จากแนวความคิดดังกล่าว เนื้อหาความรู้ทางคอมพิวเตอร์ที่ผู้สอนจะนำเสนอกับผู้เรียนต้องเป็นเรื่องที่ทันสมัยสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น การสอนด้านโปรแกรมประยุกต ์ ที่เปลี่ยน Version อยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นผู้สอนย่อมต้องสอนโปรแกรม Version ใหม่นั้นตามที่นิยมกัน เมื่อสองปีการศึกษาที่ผ่านมาสอนโปรแกรม Windows 3.11 แต่ปัจจุบันต้องเปลี่ยนเป็น Windows 95 หรือ Windows 98 แต่ทั้งนี้บางกรณีอาจสอนไม่ได้เพราะมีข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ ผู้สอนคงต้องเลือกโปรแกรม Version ที่ใกล้เคียงกันแทน

ผู้สอนคอมพิวเตอร์ควรใสใจติดตามวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะได้รับข่าวสารข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ โดยการอ่านวารสารคอมพิวเตอร์ การไปชมนิทรรศการทางคอมพิวเตอร์ซึ่งมักจะมีการนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมาแสดง การสืบค้นข้อมูลใหม่ ๆ ทางอินเตอร์เน็ต

การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

การก่อเกิดนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ทางด้านการศึกษา มักมีปัญหาในเรื่องของความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ และความไม่แน่ใจในเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้นว่าจะเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้เพื่อจัดการศึกษา การเรียนรู้ของนักเรียนหรือไม่ ประเด็นสำคัญประการหนึ่งของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ในการศึกษา คือ การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาและครูอาจารย์
 
บทนำ
ตราบใดที่ผู้บริหารและครู-อาจารย์ในสถานศึกษา เห็นว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่มีประโยชน์ ไม่เข้าใจในประโยชน์ ไม่รับรู้หรือรับทราบ ไม่ติดตามข่าวสาร ไม่เคยใช้หรือเคยชินกับเทคโนโลยีเหล่านั้น ก็จะทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่ถูกนำไปเผยแพร่ในสถานศึกษา ไม่ว่าสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเหล่านั้นจะดีเพียงใด การยอมรับที่จะทำความรู้จัก เข้าใจ การนำไปใช้ จนเป็นนิสัย หรือนำไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ขึ้นอยู่กับตัวของบุคคลเป็นสำคัญ 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร และครู-อาจารย์ ถ้าบุคคล 2 กลุ่มขาดการยอมรับ ความรู้ความเข้าใจ ไม่เคยนำไปใช้ หรือไม่เคยเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใดๆ เลย จะทำให้ยากต่อการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้สถานศึกษา
ระดับของการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารและครู-อาจารย์ ตามแนวคิดของ Roger (1986) สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ
1. กลุ่มที่อยู่ในระดับยอมรับมากที่สุด
2. กลุ่มที่อยู่ในระดับมาก
3. กลุ่มที่อยู่ในระดับปานกลาง
4. กลุ่มที่อยู่ในระดับน้อย
5. กลุ่มที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด
ระดับของการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 5 ระดับ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือ ทั้ง 5 กลุ่ม สามารถแยกแยะหรือจำแนกระดับของการยอมรับนวัตกรรมออกได้ แต่ไมได้หมายความว่าผู้ที่ได้คะแนนน้อยหรือแยกแยะออกมาแล้วอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะต้องอยู่ในกลุ่มนั้นตลอดไป ระดับการยอมรับของนวัตกรรมมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาขึ้นไปได้ เช่น คนที่ไม่เคยยอมรับนวัตกรรมเลย เมื่อมาถึงจุดหนึ่งอาจพัฒนาตนเองไปถึงระดับปานกลางหรือยอมรับมากที่สุดและใช้อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น การจำแนกกลุ่มบุคคลที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับนวัตกรรม จึงเป็นการจำแนกหรือแยกแยะในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น ระดับการยอมรับสามารถเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือกระบวนการได้ตลอดเวลา ถ้าเราจำแนกการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริหาร ครู-อาจารย์ สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
 
1. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากที่สุด
 
กลุ่มผู้บริหาร ครู-อาจารย์ที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี หมายถึง กลุ่มที่สามารถใช้งานเทคโนโลยีได้คล่องแคล่ว เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีการใช้เทคโนโลยีประเภทใดประเภทหนึ่งในการบริหารจัดการอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารทางด้านเทคโนโลยี เคยเข้าร่วมกิจกรรม ฝึกอบรมการพัฒนาร่วมในการผลิต หรือเกี่ยวข้องโดยตรงงานทางด้านเทคโนโลยี คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทุกประเภทในระดับสูงสุด นั่นคือ ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ กิจกรรม นโยบายใหม่ บุคคลกลุ่มนี้จะเข้าร่วมและทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนของนักเรียน ดังนั้นกลุ่มนี้เป็นแนวหน้าในการที่จะนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาในการจัดการศึกษา มักจะเป็นผู้ที่จบทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีโดยตรงหรือมีความสนใจเป็นพิเศษ มีการพัฒนาการมานานหรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่สม่ำเสมอ หรือจำเป็นต้องทำงานที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา
 
2. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาก
 
กลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับมาก หมายถึง กลุ่มผู้บริหาร ครู-อาจารย์ที่มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอยู่สม่ำเสมอหรือบ่อยครั้งที่ต้องใช้ กลุ่มนี้เห็นความจำเป็นและความสำคัญของการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารการจัดการศึกษา เพียงแต่อาจไม่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม และพยายามสรรหาหรือเข้าไปใช้เทคโนโลยีในการนำมาบริหารจัดการ หรือเป็นครู-อาจารย์ที่สนใจและชอบแต่มีทุนทรัพย์น้อยหรือไม่ได้ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ได้รับการสนับสนุน จึงทำให้ไม่มีโอกาสพัฒนาตนเอง หรือโอกาสที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ กลุ่มนี้สามารถพัฒนาไปในระดับที่ยอมรับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสูงสุดได้ ถ้าได้รับการฝึกอบรมหรือหน่วยงานมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปใช้อย่างสม่ำเสมอ ในทางตรงกันข้ามหากขาดการสนับสนุนจากหน่วยงาน หรือองค์กรไม่มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่เข้าไปทำให้เกิดการพัฒนา อาจทำให้เสื่อมถอยหรือตามเทคโนโลยีไม่ทันหรือเบื่อหน่าย ในที่สุดกลุ่มนี้อาจไม่พัฒนาหรือยอมรับนวัตกรรมในระดับที่ปานหรือลดลงได้
 
3. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีปานกลาง
 
กลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับปานกลาง หมายถึง กลุ่มที่มักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีพอใช้งานได้ เคยอบรม ใช้งานในบางโอกาส หรือหน่วยงานสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีอยู่บ้าง แต่ไม่ใช้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ค่อยได้ติดตามเทคโนโลยี รู้จักและเข้าใจนวัตกรรมพอสมควร เคยทำงานที่เกี่ยวข้องอยู่บ้าง และพร้อมที่จะยอมรับเทคโนโลยีให้มากขึ้นกว่าเดิม ถ้าได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุน ในขณะเดียวกันการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับกลุ่มนี้อาจลดลงได้ถ้าหน่วยงานไม่มีการสนับสนุนและพัฒนาให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางการศึกษาเลย ฉะนั้นกลุ่มนี้จึงอยู่ในระดับที่พอใช้งานเทคโนโลยีได้ พอเข้าใจว่ามีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใดอยู่บ้าง รู้จักและเข้าใจในเครื่องมือเครื่องใช้ใหม่เพียงแต่ไม่มีโอกาสได้สัมผัสหรือได้ใช้บ่อยนัก หรืองานที่ทำอยู่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีโดยตรง ทำให้ตัวผู้ใช้มีการยอมรับเทคโนโลยีในระดับปานกลาง
 
4. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อย
 
กลุ่มที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับน้อย หมายถึง กลุ่มผู้บริหาร ครู-อาจารย์ที่มีความพร้อมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา แต่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่ทราบแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ขาดการฝึกอบรมพัฒนา ทุนน้อย อยู่ห่างไกล ทำให้มีส่วนในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีมากนัก หรือบริหารจัดการ การสอนในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเลย ทั้งที่ตัวเองก็สนใจ หรือพอจะรู้ว่ามีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาบ้างแต่ขาดโอกาสที่จะมีส่วนร่วม ทำให้กลุ่มนี้อยู่ในระดับพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีแต่ขาดผู้นำเข้าสู่ระบบนวัตกรรมและเทคโนโลยี ใหม่ๆ กลุ่มนี้สามารถขยับเข้ามาอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้อยู่เสมอ เพราะกลุ่มนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ยอมรับนวัตกรรม เสมอไป หรือไม่รับรู้รับทราบเพียงแต่ขาดโอกาสหรือมีอุปสรรค อยู่ชนบทห่างไกล เพราะคนที่อยู่ในเมืองมีเทคโนโลยีมากมายก็อาจอยู่ในกลุ่มนี้ได้หากขาดการใฝ่รู้ ขาดการติดตามข่าวสารหรือขาดการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยี ดังนั้นผู้บริหาร ครู-อาจารย์ที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ กิจกรรมต่างๆ เกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ให้มากขึ้น อยู่สม่ำเสมอ
 
5. กลุ่มที่มีระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อยที่สุด
 
กลุ่มที่มีการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อยที่สุดหรือาจเรียกได้ว่า กลุ่มที่ไม่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีหมายถึง กลุ่มที่ไม่เคยใช้เทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการ หรือไม่เคยใช้เทคโนโลยีใดๆ ในการเรียนการสอน อาจจะรู้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ และรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ แต่ไม่ใช้ในการบริหารจัดการเรียนการสอน กลุ่มนี้เป็นลักษณะที่มองไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี คิดว่าวิธีการเดิมๆ ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่จึงไม่จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาสู้สิ่งที่มีอยู่เดิมไม่ได้ อาจเกิดจากทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับเทคโนโลยีเลย หรือทำงานกับกลุ่มคนที่ที่ไม่ใช้เทคโนโลยีด้วยกัน หรือคำนึงถึงเรื่องราคาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีราคาค่อนข้างสูงจึงไม่ยอมรับที่จะใช้ ขณะเดียวกันมีพื้นฐานเดิมที่ไม่สนใจที่จะฝึกอบรม ติดตาม หรือพัฒนาตนเอง ทำให้ไม่ยอมรับหรือใช้เทคโนโลยีในด้านใดด้านหนึ่ง แม้ว่าเทคโนโลยีจะนำความสะดวกสบายมาให้ผู้ใช้ แต่ตัวผู้ใช้เห็นว่าวิธีการเดิมดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมาเกี่ยวข้อง
กลุ่มนี้ถือว่าต้องพัฒนาโดยเร่งด่วน และหาทางปรับระดับอย่างน้อยควรให้อยู่ในระดับที่ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีบ้าง โดยให้ได้ทดลองใช้ ได้ใช้ ยอมรับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหรือนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ในการเรียนการสอนบ้าง มิฉะนั้นจะทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาระบบการศึกษา ซึ่งระบบการศึกษามีนวัตกรรมใหม่ แนวคิดใหม่ เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ใหม่ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ถ้ากลุ่มนี้มีอยู่ในปริมาณมากจะเป็นเรื่องที่ลำบากต่อการพัฒนาระบบการศึกษาให้ก้าวหน้าได้ช้า
 
แนวทางการประเมินระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การประเมินระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ไม่ใช่การประเมินในลักษณะที่วัดเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู-อาจารย์นั้นมีอยู่ในสภาพแวดล้อมในลักษณะใด วิธีการประเมินการยอมรับเทคโนโลยีไม่ได้ตรวจสอบเพียงแค่การใช้เครื่องมือเครื่องใช้สมัยใหม่เท่านั้น และความเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีไม่ได้หมายถึงคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรือเทคโนโลยีชั้นสูงใหม่ๆ แต่ประการใด แต่การประเมินการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นการประเมินตัวบุคคลหรือสภาพแนวคิด การรับรู้ของผู้บริหาร ครู-อาจารย์ มีความรู้สึก ความคิดเห็นอย่างไรกับสิ่งที่ตนปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำผลของแนวคิดประจำวันมาประเมินว่า บุคคลระดับใดจะเป็นผู้ที่มีการยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสู่ชีวิต ดังนั้นแบบประเมินที่ใช้ในการประเมินการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นการประเมินการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และปริมาณการใช้หรือการมีส่วนร่วม การติดตามเทคโนโลยีสมัยใหม่
ตอนที่ 2 เป็นการประเมินสภาพของความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ผ่านมาแล้วในอดีต หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในชีวิต เช่น การดูรายการโทรทัศน์ เทคโนโลยีหรือสิ่งก้าวหน้าใหม่ๆ การศึกษาดูงาน การมีส่วนร่วมต่อ และแนวคิดที่มีต่อเทคโนโลยี ในตอนที่ 2 เป็นการศึกษาสภาพชีวิตจริงของผู้ที่ถูกประเมินว่า มีระดับของการยอมรับหรือความเข้าใจของเทคโนโลยีในสภาพของความเป็นจริงในชีวิตอย่างไรบ้าง และนำมาคิดเป็นคะแนนในภาพรวมต่อไป
ดังนั้น การแบ่งระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั้ง 5 ระดับ จะมีการให้คะแนน 5 ส่วนด้วยกันคือ
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 80 - 100 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับมากที่สุด
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 66 - 79 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับมาก มีความจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมอยู่เป็นประจำ
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 51 - 65 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับปานกลาง สามารถใช้เทคโนโลยีได้ตามความจำเป็น นั่นคือ ยอมรับในบางหัวข้อหรือพอใช้เป็นบ้างในบางครั้ง
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 36 – 50 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีในระดับน้อยหรือมีความพร้อมที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้งาน แต่ทำได้ในระดับที่น้อย
ถ้าผู้ถูกประเมินมีระดับคะแนน 20-35 คะแนน แสดงว่า ผู้ถูกประเมินเป็นกลุ่มที่ยอมรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อยที่สุด เพราะบุคคลกลุ่มนี้จะให้คะแนนแบบประเมิน 1 แทบทุกข้อ
ระดับการยอมรับนวัตกรรม เป็นความจำเป็นสำหรับการประเมินหรือการวิเคราะห์ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์ ซึ่งในการออกแบบระบบหรือพัฒนาการเรียนการสอนในระบบการศึกษาให้ก้าวหน้าไป การประเมินการยอมรับนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ต้องกระทำเป็นสิ่งแรก เพื่อจะได้ทราบว่า ควรนำเอานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษาได้ดีหรือไม่ หากผู้บริหาร ครู-อาจารย์ ขาดการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเสียแล้ว ก็ไม่สามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อนักเรียน นักศึกษาได้ ในที่สุดแล้วจะทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการ การเรียนการสอน
 
 
บทสรุป
 
ดังนั้นนักการศึกษา นักเทคโนโลยีการศึกษา ที่ต้องการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยเข้าไปใช้ในองค์กรหรือสถานศึกษา ควรคำนึงถึงการยอมรับนวัตกรรม เพราะเป็นขั้นตอนแรกในการวิเคราะห์ระบบทั้งหมด ซึ่งการวิเคราะห์ระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ประสบความสำเร็จต้องทราบตั้งแต่การวิเคราะห์องค์กร โดยใช้ SWOT เป็นการวิเคราะห์องค์กร การดูความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ผู้เรียนในเรื่องแบบเรียนรู้ Learning Style การวิเคราะห์ระดับการยอมรับนวัตกรรม สามารถนำไปใช้ได้ทั้งผู้บริหาร ครู-อาจารย์ เมื่อได้ทราบระดับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีแล้ว ทำให้สามารถกำหนดนโยบายหรือวางแผนพัฒนาระบบการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมโดยไม่สูญเปล่า

มโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศน์ศึกษาให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ หรือโสตทัศนูปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ ดังนี้
1.2.1 ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่า มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน เน้นเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ มากกว่าจะคำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
1.2.2 ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ หมายถึง การนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเน้นเรื่องเทคนิคที่เป็นวิธีการ และกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าวัสดุ และเครื่องมือ

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)

ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้

1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)
3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา

ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียว
เพลโต
นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น
ฟรานซิส เบคอน
(ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง
โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา
คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก
ธอร์นไดค์
(thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่
บี เอฟ สกินเนอร์
(B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง

ระบบการพัฒนาอาชีพครู

ระบบการพัฒนาอาชีพครู
โดย ผศ.ดร.สังคม ภูมิพันธุ์

ความนำ
          เมื่อเอ่ยถึง " ครู" คนส่วนมากนึกถึงผู้ที่ยืนอยู่หน้าชั้นเรียนมีกระดานดำ(สีเขียว)อยู่ข้างหลังและในมือถือชอล์คสีขาว(ที่จริงชอล์คมีหลายสี)อาจแต่งเครื่องแบบสีกากีหรือสีของกรมหรือกระทรวงกำหนด
หรือสีประจำโรงเรียนนอกจากนั้นอาจแต่งสีฉูดฉาด ซีดเซียว แล้วแต่จะนึกลึกๆลงไปในความหมายของครูที่หลายคนเปรียบเทียบไว้ก็คือ " ครูคือเรือจ้างที่คอยพานาวาชีวิตของนักเรียนให้ไปถึงฝั่งโดยสวัสดิ
ภาพและอื่นๆในทำนองเดียวกัน
          ผู้เขียนมิบังอาจเสนอแนะหรือบังคับให้ผู้อ่านคิดเช่นนั้นเช่นนี้ได้แต่ต้องการเน้นย้ำให้เกิดความเข้าใจในอาชีพครูว่า อาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ต้องการใช้สหวิทยาการ(Inter - disciplinary)มาประกอบ
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต้องวิเคราะห์วิจัยผู้เรียน กระบวนการเรียน สิ่งแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆตลอดเวลาไม่แตกต่างอันใดกับอาชีพหมอ แต่การวินิจฉัยโรคมีลักษณะแตกต่างกันเท่านั้นเพราะอาชีพหมอวินิจฉัยเรื่องความเจ็บป่วย แต่ครูวินิจฉัยโรค " ชีวิต" ทั้งชีวิตเลยก็ว่าได้ ดังนั้นจึงมีประโยคคุ้นๆหูให้ได้ยินมากมาย  อาทิ
          " สอนเด็กให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ "
          " สอนเขาไม่ให้เป็นลิงเป็นค่าง "
          " สอนเขาเพื่อให้ไปประกอบอาชีพที่ดี "
          " สอนเขาให้รับผิดชอบต่อสังคม "
          " สอนเขาเพื่อให้เขารู้ "
                ฯลฯ
          และนี้เองเป็นความหมายของชื่อบทความนี้
   " เด็กสาวซื่อแซ่ซ้องสรรเสริญ " นั้นคือทำอย่างไรจะทำให้เด็กสาวที่ซื่อนั้นได้สร้างคุณงามความดีในชีวิตเขาเพื่อให้เราได้แซ่ซ้องสรรเสริญ เป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อสังคมของเราจากประโยคนี้เองทำให้เกิด
ระบบการพัฒนาอาชีพครูที่ผู้เขียนได้คิดและจินตนาการขึ้นมาคือ
        เด็ก     สาว    ซื่อ    แซ่    ซ้อง    สรรเสริญ                                                        
        ดูด      สับ     ซับ    ซึม    ซัด     สุด  ส่าย
                    สมรรถภาพของความเป็นครู
          ระบบการพัฒนาอาชีพครู จากประโยค " เด็กสาวซื่อแซ่ซ้องสรรเสริญ " และ
 " ดูดสับซับซึมซัดสุดส่าย " สามารถนำมาเขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
                               ซึม
               ดูด        สับ         ซับ       สุด
                               ซัด
                              ส่าย
              
 แผนภูมิที่ 1 ระบบการพัฒนาอาชีพครู
   องค์ประกอบของระบบมีดังนี้คือ
1.ดูด (Input) หรือตัวป้อนสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับอาชีพครูก็คือ การไม่หยุดนิ่งในทางวิชาการต้องศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์วิจัย เพื่อให้มีวามรู้ที่ก้าวหน้า กว้างไกลตลอดเวลา ต้องดูดความรู้ข่าวสาร ข้อมูลจากแหล่ง
วิชาการต่างๆ ด้วยการฟัง พูด อ่าน เขียน เสวนากับทุกชนชั้นทุกอาชีพ เพื่อให้มีโลกทัศน์ที่กว้างขวางที่ ดิ่งด่ำ ล้ำลึก รู้รอบ และทะลุลอดปลอดโปร่ง การดูดดังที่กล่าวต้องใช้ทั้งอายตนะภายนอกคือ การได้สัมผัส
ด้วยประสาททั้ง 5 เพื่อการรับรู้ และอายตนะภายในเพื่อการรับรู้ด้วยจิตใจ  นำความรู้  ความคิด เจตนารมณ์ต่างๆมาวางแผนทั้งระยะยาวและระยะสั้น กำหนดจุดประสงค์ของการเรียนการสอนและจัดทำแผน
การสอนรายวันรายชั่วโมงให้ชัดเจนและจุดประสงค์ควรเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถ สังเกตุได้อย่างชัดเจน การตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมมีคำย่อเป็นภาษาอังกฤษให้จดจำได้ง่ายๆคือ
          SMART = ความเฉลียวฉลาด เท่ห์ สง่างาม  มีคำอธิบายดังนี้
          S = Sensible    คือ ความเป็นไปได้
          M = Measurable  คือ สามารถวัดได้
          A = Attainable  คือ ระบุสิ่งที่ต้องการ
          R = Reasonable  คือ ความมีเหตุผล
          T = Time        คือ มีขอบเขตเวลาการดำเนินงาน
         สิ่งที่ต้องคำนึงในปัจจุบันนี้ก็คือ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น  นอกจากนั้นครูต้องเป็นผู้รวดเร็ว ฉับไว เปิดใจ
 และเปิดช่องทางที่จะรับรู้ข่าวสาร ข้อมูลทางวิชาการจากสื่อทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อ อีเลกทรอนิกส์ต่างๆโดยเฉพาะสื่อมวลชนที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อวิถีการดำเนินชีวิตของ
มนุษย์เราจนกล่าวได้ว่าสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสารข้อมูล (Information Society) ที่ข้อมูลข่าวสารโหมกระหน่ำเข้าไปในชีวิตส่วนตัวของเรามากขึ้นเท่านั้น ตัวผู้เรียนเองก็ได้รับความรู้ข่าวสารจากสื่อ
เหล่านั้นตลอดเวลา หากครูไม่มีความรวดเร็ว ฉับไว และทันสมัยแล้วจะหล้าหลังในทางวิชาการกว่าผู้เรียนมาก  ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้สอนต้องวิเคราะห์ผู้เรียนให้ถ่องแท้ด้วยและจงระลึกเสมอว่าผู้ที่มีข่าวสารข้อ
มูลคือผู้ที่มีอำนาจ (Information is power)
          2. สับ ซับ ซึม ซัด (Process)
          2.1 สับ หมายถึง การวิเคราะห์แยกย่อยความรู้ ข้อมูลทางวิชาการเหล่านั้น
ด้วยขันธ์ 5 ทั้งโดยวิธีนิรนัยและอุปนัยเพื่อให้มองเห็นหลักการทฤษฎีที่แท้จริง ครูจะต้องมีวิธีการสอนที่จะให้ผู้เรียนสามารถสับความรู้ที่มีอยู่และที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าให้แหลกละเอียดและย่อยให้มอง
เห็นเป็นสัจจะของวิชาการแล้วจึงสำรอกออกมาโดยการประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับ สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นหลักการทางจิตวิทยาต้องนำมาใช้ในการกระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ อยาก
เรียนด้วยวิธีการปูพื้นความรู้กว้างๆเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้เรียนจะเรียนให้เขามองเห็นความสำคัญของเนื้อหา รวมไปถึงการประเมินความรู้พื้นฐานหรือความรู้เดิมของผู้เรียนก่อน
          เมื่อสับหรือวิเคราะห์แยกย่อยความรู้เนื้อหาวิชาแล้วครูต้องสามารถใช้ลำดับขั้นการสอนและรูปแบบ  (Model) หรือใช้กรรมวิธีในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้
ผูเรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ของการสอนซึ่งกรรมวิธีเหล่านั้นมีรากฐานของเหตุผล ประสบการณ์ ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีจิตวิทยาเป็นแกนนำ ผู้เขียนอยากย้ำกระบวน
การการเรียนการสอนคือ " เร้าจุดเดิมเสนอแนะแสดงย้อนประจำ " สามารถอธิบายสั้นๆได้ดังนี้
   เร้า   หมายถึง การเร้าความสนใจของผู้เรียนให้มีความอยากรู้อยากเรียน
   จุด    หมายถึง การแจ้งจุดประสงค์ที่ชัดเจนอันเป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบเสมอๆในขณะเรียน
   เดิม   หมายถึง การตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียนจะโดยวิธีทดสอบก่อนเรียนหรือวิธีอื่นๆแล้วแต่จะเหมาะสม
   เสนอ  หมายถึง การเสนอความรู้เนื้อหาสาระอย่างมีระบบมีขั้นตอนที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
   แนะ   หมายถึง แนะนำวิธีการเรียนให้กับผู้เรียนเนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้สอนต้องแนะนำวิธีเรียนที่สอดคล้องกับความแตกต่างของแต่ละคนนั้น
   แสดง หมายถึง การแสดงของผู้เรียนที่บ่งบอกถึงความรู้ความเข้าใจในเนิ้อหาสาระ ตลอดจนสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
   ย้อน   หมายถึง การตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับของผู้สอนโดยมีระบบการตรวจสอบที่รอบคอบเหมาะสม
   ประ   หมายถึง การประเมินทั้งกระบวนการและผลผลิต
   จำ หมายถึง การแนะนำ ตอกย้ำ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีวิธีการจดจำความรู้อย่างถาวร
 Image
ลำดับขั้นการสอนและรูปแบบสามารถแยกได้เป็น 2 ขั้ว คือแบบคิดมาบอกอยู่ปลายขั้วหนึ่งและแบบปล่อยให้คิดอยู่อีกขั้วหนึ่งและมีแบบนำให้คิดอยู่กึ่งกลางขั้ว

            คิดมาบอก                นำให้คิด                      ปล่อยให้คิด
          (Expository)      (Guided Discovery)      (Discovery)
           -บรรยาย                      -IDOS             -CF-ID-AP
           -นิรนัย                      -SPCP             -OEPC
                                           -อุปนัย
                                           ฯลฯ
                                       สืบสวนสอบสวน
          สำหรับการสอนประเภทครูคิดมาบอก ซึ่งมีวิธีการบรรยายและวิธีการสอบแบบนิรนัยนั้นจะไม่ขอกล่าวในรายละเอียดมากเนื่องจากเป็นวิธีการที่คุ้นเคยและใช้กันอยู่อย่างกว้างขวาง เพียงแต่จะกล่าว
สั้นๆว่าการสอนแบบนิรนัย (Deductive teaching)มีลำดับขั้นตอนการสอน  3  ประการคือ
      1. ให้คำนิยามหรือหลักการหรือให้นักเรียนจดจำ
      2. อธิบายและยกตัวอย่างด้วยการพูด บรรยาย หรือ ปาฐกถา
      3. บอกการนำไปใช้ให้นักเรียนจดจำไว้เป็นแบบอย่าง
          ส่วนการสอนแบบบรรยายนั้น มีหลายประการที่ทำให้เกิดการล้มเหลว ซึ่งส่วนมากจากตัวผู้บรรยายเองดังนี้
      1. ขาดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่แท้จริง ตลอดจนรูปแบบการสื่อสารกับผู้เรียน ส่วนมากเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
      2. ตัดขาดจากผู้ฟังโดยไม่สนใจว่าผู้ฟังจะมีความรู้สึกหรืออารมณ์อย่างไร
      3. จดจ่ออยู่กับโน้ตการบรรยายเป็นส่วนใหญ่
      4. มีน้ำเสียงที่ราบเรียบขาดการเน้นคำ ทำให้ขาดพลังการโน้มน้าว
      5. เนื้อหาการพูดส่วนมากขาดการอ้างอิงถึงหรือเกี่ยวพันกับสภาพปัจจุบันบ้างครั้งมีเนื้อหากว้างเกินไป
      6. ไม่ค่อยตระหนักว่าผู้ฟังมีพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเช่นไร
      7. ไม่สามารถแสดงให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเนื้อหาที่ต้องเรียน
      8. ลักษณะการบรรยายเป็นแบบหันรีหันขวางไม่เป็นไปตามลำดับที่เหมาะสม
      9. ไม่มีการปรับการบรรยายเพื่อให้สอดคล้องกับเวลา
      10.ใช้เวลามากในการปูภูมิหลังของเรื่องที่บรรยายจนไม่มีเวลาในการให้ความสนใจในเรื่องหลักการสำคัญที่จะบรรยาย
      11.ใช้คำศัพท์ที่พิสดารยากในการทำความเข้าใจ
      12.มัวอ้างอิงผู้รู้โดยมิได้สร้างความสนใจในเนื้อหา
      13.นำข้อความของผู้รู้มาอ้างอิงจนพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น
      14.ให้ความสำคัญกับการใช้คำที่ถูกต้องมากจนเกินไป
      15.อ้างถึงเอกสารหรือหนังสือโดยที่ผู้ฟังไม่สามารถหาอ่านได้
      16.แสดงความขัดแย้งกับผู้รู้อื่นๆในประเด็นที่ไม่น่าจะเป็นหลักสำคัญอะไร
      17.ไม่พยายามปรับสภาพน้ำเสียง ท่วงที และการเน้น แม้รู้ว่าผู้ฟังกระสับกระส่าย เบื่อหน่ายหรืออาจจะหลับก็ได้
      18.ให้ความสนใจและคำพูดในสาระที่อยู่นอกประเด็นหลัก
      19.ขาดการใช้สื่ออื่นๆประกอบเพื่อสร้างความสนใจ
      20.ใช้เสียงเบาหรือดังเกินไปอาจเกิดความรำคาญได้
          การสอนประเภทนำให้คิด (Guided discovery)
การสอนแบบนี้มีรูปแบบการสอนมากมาย ขอหยิบยกมากล่าวพอเป็นตัวอย่างดังนี้
1. แบบ IDOS (นำ พัฒจัดย่อ) มีลักษณะดังนี้
       ขั้นแนะนำ      ขั้นพัฒนา        ขั้นจัดระบบ       ขั้นสรุปย่อ
    Introduction   Development   Organization   summarization
สาระสำคัญของรูปแบบนี้ก็คือมีขั้นการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยวิธีต่างๆแล้วครูเสนอวัตถุประสงค์การสอนมีการวางแผนการเรียนร่วมกันโดยใช้การอภิปราย ค้นคว้าเอกสาร ทัศนศึกษารวบรวมวัสดุสิ่งของต่างๆ
นำมาจัดระบบข้อมูล เสนอหน้าชั้นอาจมีอุปกรณ์ต่างๆประกอบเช่น แผนภูมิ รูปภาพ เอกสาร และขั้นสุดท้ายมีการสรุปร่วมกันของครูและนักเรียน จะเห็นได้ว่า รูปแบบนี้สามารถยืดหยุ่นได้ในแต่ละขั้นตอน
2. แบบ Operant Conditioning ของ สกินเนอร์ (B.F Skiner) (เสนอกำแก้ซ้ำวัด) มีลักษณะดังนี้
   นำเสนอ        กำหนดปัญหา       ให้แก้ปัญหา       ฝึกซ้ำ      วัดผล
                                การตอบกลับ      การตอบกลับ
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้ก็คือ ครูพิจารณาว่าผู้เรียนมีพื้นความรู้ในเนื้อหาที่จำเป็นแล้วหรือยังถ้ายังก็อาจบรรยายให้อ่านตำรา ศึกษาจากสื่อ แต่ถ้าผู้เรียนมีความรู้แล้วอาจจะข้ามขั้นการนำเสนอไปได้ แล้วครู
เสนอปัญหาให้ผู้เรียนช่วยกันแก้ปัญหาในขั้นนี้จะใช้คำถามหรือเสนอสื่ออุปกรณ์ก็ได้ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสอน   หลังจากนั้นให้ผู้เรียนตอบสนองต่อปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมครูต้อง
เสริมแรงและให้ข้อมูลป้อนกลับตลอดเวลาและให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเดิมซ้ำหลายๆครั้งจนเกิดระสิทธิภาพและแน่ใจว่าผู้เรียนมีความรู้เกิดทักษะ การวางเงื่อนไขเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติและตอบสนองได้ต้องนำ
มาใช้และสุดท้ายต้องมีการประเมินวัดผล เพื่อตรวจสอบว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
3. แบบเพียเจต์ (J.Piaget) ของเพียเจต์ซึ่งหลักทฤษฎีการเรียนรู้ มีลักษณะดังนี้
                        ให้สัมพันธ์ความรู้
     เสนอความขัดแย้ง      คำถาม          ให้ปฏิบัติการ    ให้จัดระบบ
                        เสนอแนะแนวคิด    คำถาม        คำถาม
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้ก็คือครูเสนอปัญหาหรือเหตุการณ์วัสดุต่างๆที่เป็นปัญหา ท้าทายให้ช่วยกันแก้ปัญหา เสร็จแล้วตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้ที่มีอยู่สัมพันธ์กับปัญหาขณะเดียวกันครูเสนอ
แนะแนวคิด วิธีการที่นักเรียนจะใช้เพื่อแก้ปัญหาเสร็จแล้วนักเรียนลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาโดยยึดหลักที่ว่า การปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดโดนครูคอยถามคำถาม แต่ไม่บอกวิธีการไม่มีการสาธิต
หรือยกตัวอย่างแต่อย่างใดและประการสุดท้ายให้นักเรียนสรุปจัดระบบความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ โดยครูเป็นผู้คอยถามคำถามเพื่อให้มีการสรุปและจัดระบบความรู้นั้นเอง สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการกล่าวชม
เชยกระตุ้นตลอดเวลา
4. แบบ SPCP โดยอาศัยทฤษฎีกระบวนการเรียนรู้ทางจิตวิทยา มีลักษณะดังนี้
   Sensation    Perception     Conception    Principles
    รู้สึก          กำหนดรู้         มโนทัศน์         หลักการ
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้ก็คือ การเร้าความรู้สึกให้กับผู้เรียนโดยการให้สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ เสร็จแล้วครูซักถามเพื่อหยั่งการกำหนดรู้ของนักเรียนให้ตรงกับจุดมุ่งหมายอาจมีการอภิปรายให้
ข้อมูลด้วย หลังจากนั้นครูใช้คำถามให้นักเรียนนิยามหรืออธิบายมโนทัศน์ใหม่ๆและประการสุดท้ายกระตุ้นให้นักเรียนสร้างและค้นหาหลักการโดยอาศัยมโนทัศน์ที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนนั้น
5. แบบรวมย่อยรวม มีลักษณะดังนี้
          Whole           Part          Whole
         ส่วนรวม          ส่วนย่อย        ส่วนรวม
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้ มีดังนี้ ขั้นแรกครูเสนอสาระเป็นส่วนรวมด้วยวิธีต่างๆเช่นแสดงให้ดู แจกเอกสาร ใช้สื่อต่างๆ เสร็จแล้วจึงเสนอสาระที่จัดไว้เป็นส่วนย่อยๆและเพื่อให้นักเรียนจดจำได้ดีจะให้นัก
เรียน วิเคราะห์ จำแนก จัดหมวดหมู่หาความสัมพันธ์ฝึกปฏิบัติ เล่นเกมส์ ทดสอบ เป็นต้น ขั้นสุดท้ายครูจึงทบทวนกฏที่เป็นสาระโดยวิธีย่อและรวมกฏเกณฑ์ต่างๆอีกครั้งหนึ่ง
6. แบบความรู้เชิงภาษาของดีเชคโค (Dececco) มีลักษณะดังนี้
     วัตถุประสงค์      ปรับพฤติกรรม    ดำเนินการสอบสวน    วัดผล
   รูปแบบนี้ใช้สอนภาษาและข้อเท็จจริงซึ่งมีลักษณะจำเพาะเจาะจงมีสาระสำคัญคือขั้นแรกครูเสนอวัตถุประสงค์ของการสอนว่าต้องการให้นักเรียมีพฤติกรรมเช่นไรโดยเฉพาะเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
 เสร็จแล้วครูพิจารณาความพร้อมของนักเรียน เสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นระบบเพื่อสังเกตุดูความรู้พื้นฐานของนักเรียนแล้วจึงวัดผลก่อนเรียน (Pre-test) เพื่อให้ครูสามารถวิเคราะห์สื่อกิจกรรมและวิธีการสอน
ให้เหมาะสมกับความรู้เดิมของผู้เรียนหลังจากนั้นจึงดำเนินการสอนโดยการให้ฝึกฝนอภิปราย ท่องจำ กำหนดระยะเวลาฝึก บอกแนวทางการตอบสนอง เป็นต้น ขั้นสุดท้ายคือการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจ
สอบผลการเรียนรู้ของนักเรียน
7. แบบวิธีอุปนัย (Inductive Approach) มีลำดับขั้นตอนดังนี้
   เสนอมโนทัศน์ทางบวก   ระบุคุณลักษณะ    จำแนก    บอกมโนทัศน์  วัดผล
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้ มีลักษณะดังนี้คือขั้นแรกครูให้ตัวอย่างที่เป็นมโนทัศน์เชิงบวกซึ่งอาจเป็นรูปภาพของจริงหรือให้ประสบการณ์ตรงเสร็จแล้วให้นักเรียนระบุคุณลักษณะร่วมกันของตัวอย่างหรือ
มโนทัศน์ที่ครูนำเสนอเสนอซึ่งอาจใช้การนิยามศัพท์การอธิบายเป็นต้นหลังจากนั้นจึงให้นักเรียนจำแนกแยกแยะเปรียบเทียบโดยครูให้ตัวอย่างใหม่ที่มีความแตกต่างกันต่อจากนั้นให้นักเรียนชี้ชัด ระบุลง
ไปว่าตัวอย่างที่ให้ครั้งแรกนั้นเป็นอย่างไร มีลักษณะใดนั้นคือการบอกมโนทัศน์ที่สำคัญ ขั้นตอนสุดท้ายจึงวัดผลตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน
8. แบบการสอนมโนทัศน์ของดีเชคโค (Dececco) มีลักษณะดังนี้
  แจ้งวัตถุประสงค์     ให้มโนทัศน์ทางวาจา    แสดงตัวอย่างมโนทัศน์เชิงบวกและเชิงลบ
  แสดงตัวอย่างใหม่ๆ   แสดงตัวอย่างเชิงบวก  ตรวจสอบการเรียนรู้   กำหนดนิยาม
  ให้ตอบสนอง        ใหม่ๆ
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือขั้นแรกครูแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนต่อจากนั้นสนทนาเกี่ยวกับมโนทัศน์ ซึ่งอาจมีบัตรคำประกอบด้วยก็ได้แล้วครูจึงแสดงตัวอย่างต่างๆที่มีทั้งเชิงบวกคือเกี่ยว
ข้องกับเนื้อหาที่จะสอนกับเชิงลบคือเกี่ยวกับเนื้อหาอื่นๆควบคู่กันไปและมีการนำตัวอย่างใหม่ๆมาให้ดูให้พิจารณาซึ่งมีทั้งเชิงบวกและลบเช่นกัน ต่อจากนั้นครูจึงตรวจสอบว่านักเรียนมีความแม่นยำ จดจำ
และเข้าใจเนื้อหาที่สอนมากน้อยเพียงใดและขั้นสุดท้ายครูจะให้นักเรียนอธิบายมโนทัศน์ด้วยคำพูดของเขาว่ามโนทัศน์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่สอนนั้นมีลักษณะเช่นไร
9. แบบการสอนหลักการของดีเชคโค (Dececco) มีลักษณะดังนี้
   แจ้งวัตถุประสงค์  ระลึกมโนทัศน์พื้นฐาน   จัดมโนทัศน์เป็นแบบแผน   สาธิตหลักการ
                 อธิบายหลักการ       ตรวจสอบการเรียนรู้
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือ ขั้นแรกครูแจ้งวัตถุประสงค์ ต่อจากนี้ครูแสดงอุปกรณ์และใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนมโนทัศน์ที่เป็นพื้นฐานเสร็จแล้วให้นักเรียนจัดแบบแผนของมโนทัศน์
โดยที่ครูมีข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้เด็กได้ทราบว่าที่ตัวเองจัดแบบแผนนั้นถูกต้องหรือไม่จากนั้นครูตั้งปัญหาให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาและแก้ปัญหา มีการแสดงและสาธิตสิ่งที่ปฏิบัตินั้นแล้วจึงอธิบายหลักการ
ทั้งหมด ขั้นสุดท้ายเป็นการตรวจสอบว่านักเรียนเรียนรู้ได้ถูกต้องหรือไม่เพียงใด
10. แบบการสอนความสัมพันธ์ (หลักการ) ของกาเย่ (Gagne') มีลักษณะดังนี้
   แจ้งวัตถุประสงค์  เตรียมนักเรียน  กำหนดความสัมพันธ์  สาธิต  สรุปความสัมพันธ์
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้  ขั้นแรกครูแจ้งวัตถุประสงค์ เสร็จแล้วถามนักเรียนเพื่อให้นึกถึงมโนทัศน์ที่เป็นพื้นฐานอันถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อม หลังจากนั้นครูชี้แจงกฏและหลักการโดยยึดความ
สัมพันธ์ของมโนทัศน์เดิมกับหลักการใหม่ ต่อจากนั้นให้นักเรียนนำหลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ และขั้นสุดท้ายมีการสรุปกฏและหลักการที่สมบูรณ์
11. แบบการสอนการแก้ปัญหาของดีเชคโค (DeCeceo)  มีลักษณะดังนี้
  แจ้งวัตถุประสงค์ ตรวจสอบพื้นฐาน ระลึกมโนทัศน์ หาวิธีการแก้ปัญหา ตรวจผลการแก้ปัญหา
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือ ขั้นแรกครูแจ้งจุดประสงค์จากนั้นตรวจสอบดูว่านักเรียนมีความรู้ มโนทัศน์หรือหลักการเกี่ยวกับปัญหานั้นมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่มีต้องสอนวิธีการแก้ปัญหาก่อนและ
ต้องให้นักเรียนสามารถระลึกถึงมโนทัศน์เดิมกับหลักการใหม่ๆที่สัมพันธ์กันด้วยวิธีการสาธิตบางสิ่งบางอย่าง แล้วให้นักเรียนคิดค้นหาวิธีแก้ปัญหาในขั้นสุดท้ายคือตรวจผลการแก้ปัญหาและนำไปใช้
แก้ปัญหาอื่นๆที่สามารถถ่ายโอนกันได้
12. แบบการสอนเจตคติและค่านิยมโดยอาศัยทฤษฎีของแบบดูรา (Bandura) มีลักษณะดังนี้
    แบบอย่าง    สนใจ     ทรงจำ    กระทำ     เสริมแรง     เจตคติ
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้คือ ครูแสดงแบบอย่างเจตคติและค่านิยมที่ดีให้นักเรียนดูอาจใช้ภาพยนต์ ข่าวสาร หรือสื่อต่างๆและครูแสดงความสนใจ ชื่นชม พอใจในสิ่งนั้นๆให้นักเรียนได้เห็นอันเป็นแบบ
อย่างที่ดี จากนั้นครูกระตุ้นนักเรียนด้วยคำถามเพื่อให้นักเรียนจดจำไว้ว่าสิ่งที่เสนอนั้นมีคุณประโยชน์หรือน่าสนใจในแง่ใด และต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงหรือกระทำสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง ครูเป็น
คนกล่าวชมเชย ให้ข้อเสนอแนะอันเป็นการเสริมแรงทางบวก เพื่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อไป
13. แบบการสอนทักษะคือทั้งแบบลองผิดลองถูกและแบบอธิบายประกอบการสาธิต ซึ่งมีลักษณะดังนี้
  แสดงทักษะที่ถูกต้อง   อธิบายประกอบ   นักเรียนฝึกทักษะ   ข้อมูลย้อนกลับ  วัดผล
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือ   ครูสาธิตทักษะที่จะสอนให้นักเรียนดูพร้อมทั้งอธิบายประกอบทักษะนั้นๆเพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายลำดับขั้นและการใช้ประกอบทักษะได้จากนั้นให้นักเรียนฝึก
ทักษะด้วยตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจ และมีทักษะที่ถูกต้อง ครูแจ้งผลย้อนกลับเพื่อเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติทักษะของนักเรียนอันถือว่าเป็นการวัดผลนั้นเอง
          การสอนประเภทปล่อยให้คิด (Discovery)
หมายถึง การสอนที่ครูช่วยเหลือแนะนำเพียงเล็กน้อยหรือไม่แนะนำใดๆเลย การสอนแบบนี้เชื่อว่าดีกว่าแบบอื่นในแง่การฝึกให้คิด แต่การวิจัยพบว่าแบบนำให้คิดนั้นได้ผลดีที่สุด ดังนั้นการเลือกแบบการสอน
ควรคำนึงถึงจุดประสงค์เป็นหลัก การสอนประเภทปล่อยให้คิดมีรูปแบบที่รู้จักอยู่   2  รูปแบบคือ
1. แบบการสอนเชิงยุทธศาสตร์ของทาบา (TaBa) มีลักษณะดังนี้
  Concept Formation    Interpretation      Application of Principle
                                         of Data                  and  Fact
   สร้างมโนทัศน์          แปลความหมายข้อมูล       ประยุกต์หลักการความจริง
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือขั้นแรกครูใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนสร้างมโนทัศน์ (CF) คำถามที่ใช้อาจเกี่ยวกับการนับและแจกแจง  การระบุคุณสมบัติหรือการจัดหมวดหมู่ขั้นที่  2 ครูให้นักเรียนตีความ
หมายหรือแปลความหมายข้อมูล (ID) โดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัยคำถามที่ครูใช้ถามในขั้นนี้ต้องช่วยให้สามารถระบุความคล้ายคลึงและความแตกต่างได้ขั้นสุดท้าย ครูให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดโดยใช้เหตุผล
เชิงนิรนัยเพื่อประยุกต์หลักการ  (AP) ครูจะใช้คำถามให้นักเรียนทำนายผลหรือตั้งสมมุติฐานและหาข้ออธิบายเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้น
2. แบบการสอนสืบสวนสอบสวน (Inquiry method) หรือเรียกว่า OEPC มีลักษณะดังนี้
  Observation     Explanation      Prediction       Control
  สังเกตุ(ปัญหา)  อธิบาย(จากปัญหา)     ทำนาย(สิ่งอื่น)     ควบคุม(ประยุกต์ใช้)
   สาระสำคัญของรูปแบบนี้มีดังนี้คือ  ขั้นแรกครูสร้างแรงจูงใจโดยการเสนอปัญหาด้วยวิธีการทดลองให้ดูหรือด้วยวิธีการอื่นๆที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับความรู้เดิมของผู้เรียน ขั้นที่สอง ครูอธิบายปัญหาและให้
ผู้เรียนช่วยกันสร้างทฤษฎีหลักการและสมมุติฐานที่มีความสัมพันธ์กัน ขั้นที่สามครูให้นักเรียน ทำนาย  ทดสอบ และสรุปกฏเกณฑ์เพื่อตอบสมมุติฐานดังกล่าวและขั้นที่สี่ครูให้นักเรียนได้บอกวิธีการนำกฏ
เกณฑ์ไปใช้   จะเห็นว่ารูปแบบนี้เน้นการหาคำตอบด้วยการถามและคิดตอบด้วยผู้เรียนเอง  โดยเน้นหนักไปในทางการคิดไม่ใช้การปฏิบัติต่อปัญหา รูปแบบนี้นิยมใช้สอนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์
เพื่อฝึกการคิดค้นอย่างนักวิทยาศาสตร์และนำไปใช้กับวิชาอื่นๆในบางเรื่องที่เน้นพฤติกรรมการคิด   รูปแบบ  OEPC  นี้เป็นรูปแบบที่อยู่ระหว่างการนำให้คิดกับการปล่อยให้คิดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคการสอน
ของครูว่าต้องการเน้นหนักในวิธีการใด
   รูปแบบการสอนแบบปล่อยให้คิดที่น่าจะส่งเสริมและเป็นคุณลักษณะตลอดจนเนื้อหาแบบไทยๆก็คือรูปแบบการสอนแบบ อริยสัจ  4 ที่มีลักษณะเป็นการสอนเชิงวิทยาศสาตร์มีรูปแบบดังนี้

        ทุกข์           สมุทัย            นิโรธ          มรรค
    กำหนดปัญหา       ตั้งสมมุติฐาน      ทดลองค้นคว้า     สรุปนำไปใช้
   ดังนั้นจะเห็นได้ว่ารูปแบบการสอนแบบอริยสัจ 4 ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาด้วยตนเองแล้วหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการหลากหลายและทดลองค้นควาอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน
การสรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
          2.2  ซับ  หมายถึงการสัมผัสเพื่อให้เกิดความรู้โดยการมีข่าวสารข้อมูลที่ละเอียดครูผู้สอนต้องเป็นผู้ที่มีความก้าวหน้าในเชิงวิชาการอยู่เสมอๆหากจัดประเภทของมนุษย์ออกเป็น 6 ประเภทคือ หัวไวใจสู้
ขอดูทีท่า เบิ่งตาลังเล หัวเหหัวดื้อ งอมืองอเท้า และไม่เอาไหนเลย ครูต้องอยู่กลุ่มแรกคือหัวไวใจสู้ มิฉะนั้นอาจตามไม่ทันผู้เรียนหรือตามโลกวิชาการไม่ทันก็ได้ ดังนั้นต้องพัฒนาศักยภาพของคนเสมอๆ
         2.3 ซึม หมายถึงการเกิดความซาบซึ้งมีจิตใจรักและชอบในงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่คือการจัดสภาพการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยการศึกษาหาวิธีการต่างๆอันหลากหลาย
(Variety) มาใช้และต้องไม่ลืมว่า" ถ้าไม่ได้ทำงานที่ตนเองรัก  ก็จงรักงานที่ตัวเองทำ  " เพื่อจะได้สร้างความรู้สึกที่ดีต่องานเพื่อนร่วมงานและผู้เรีนนด้วย  การสร้างความรักความชอบมีเจตคติที่ดีต่องานที่ทำอยู่
นั้นครูต้องหายุทธวิธีต่างเพื่อโน้มน้าวใจให้กับตนเอง ขณะเดียวกันการสอนก็ควรหายุทธวิธีต่าง เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้เรียนรักชอบวิชาที่ตนเองสอนนั้นด้วย
         2.4 ซัด หมายถึงการตรวจสอบกระบวนการเรียนการสอนอยู่เสมอๆเพื่อหาข้อบกพร่องแล้วหาวิธีแก้ไขให้ดีที่สุดครูต้องจดจำอยู่เสมอว่าการสอนนั้นคือการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียน ไม่ใช่การ
บอกหรือยัดเยียดเนื้อหาให้กับผู้เรียน (Teaching is inspire not instruct) และทำอย่างไรผู้เรียนจึงจะเรียนได้และเรียนได้ดีมิใช่ได้เรียนแต่เป็นการเรียนที่รู้จักวิธีการเรียน (Learning how to learn) อย่างมี
ประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลืองเวลา งบประมาณและพลังงานนั้นเอง
          ในกระบวนการ สับ  ซับ ซึม ซัด  (Process) นี้เป็นสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และบทบาทของครูคือการใช้เทคโนโลยีการสอนเข้ามาประยุกต์ใช้ซึ่งครูรู้จักเทคโนโลยีการสอนหรือสื่อการสอนเป็นอย่าง
ดี ผู้เขียนขอเสนอระบบการใช้สื่อการสอนที่ได้คิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้จดจำได้ดียิ่งขึ้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า  "SPARED"  อันหมายถึงการสะสมเก็บรวบรวมและค้นคว้าเพื่อเก็บไว้เป็นอะไหล่อยู่ตลอดเวลา 
นั้นคือครูต้องมีความรู้ที่เป็นอะไหล่  มีสื่ออุปกรณ์และวิธีการที่เป็นอะไหล่อยู่เสมอเพื่อให้การเรียนการสอนสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม SPARED มีรายละเอียดดังนี้
           S = State Target Audieness and Objectives
    หมายถึงการกำหนดกลุ่มผู้เรียนและจุดประสงค์ในการกำหนดกลุ่มผู้เรียนต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนอย่างละเอียดก่อน  ทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ  ความพร้อม ความรู้พื้นฐานต่างๆเพื่อนำไปกำหนดจุดประสงค์
ของการนำสื่อชนิดต่างๆมาใช้ให้สอดคคล้องกับการกำหนดจุดประสงค์ของการเรียนดังนั้นต้องยึดวัตถุประสงค์ของการเรียนเป็นหลัก
           P = Planning
    หมายถึงการเตรียมสื่อต่างๆให้พร้อมมีลำดับขั้นตอนของการใช้สื่อแต่ละชนิดมีการเลือกสื่อที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียนและจุดประสงค์ที่ได้วิเคราะห์อย่างละเอียดมาแล้ว
           A = Administering
    หมายถึงการนำสื่อที่ตระเตรียมไว้อย่างดีนั้นไปใช้ตามขั้นตอนที่กำหนด
           R = Required Learners Responses
    หมายถึงการกำหนดการตอบสนองของผู้เรียนซึ่งครูต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมและแสดงออกอย่างไรบ้างและสื่อที่จะนำมาใช้นั้นครูต้องเป็นผู้ใช้หรือนักเรียนเป็นผู้ใช้เมื่อใช้สื่อ
นั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการเรียนรู้อย่างไร
           E = Evaluation
    หมายถึงการประเมินการตรวจสอบระบบการใช้สื่อเสมอๆเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง อันถือว่าเป็นการพัฒนาระบบการใช้สื่อให้ดียิ่งๆขึ้น  นอกจากนั้นอาจต้องทำการวิเคราะห์วิจัยสื่อที่นำมาใช้เพื่อให้ได้สื่อที่มี
ประสิทธิภาพเป็นมาตรฐานต่อไป
           D = Diffusion
    หมายถึงการเผยแพร่เพื่อให้ผู้ที่มีอาชีพครูด้วยกันได้รู้ได้นำไปใช้    มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดในเรื่องระบบการใช้สื่อและวิชาการต่างๆกันอยู่ตลอดเวลาอันหมายถึงการพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพ
ชั้นสูงตลอดไป
    สุด  ( Output )
          เมื่อครูสามารถ ดูด สับ ซับ ซึม และซัด ได้อย่างมีความรู้ เข้าใจลึกซึ้งแล้วปัญญาก็จะเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ผู้เรียนก็จะมีสติปัญญามีความรู้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
คือการพัฒนาคนให้เจริญงอกงามมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามอัตตภาพ  สิ่งที่การศึกษาในปัจจุบันทำได้ค่อนข้างดี คือการพัฒนาเพื่ออาชีพเพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน  อาจกล่าวได้ว่า  เพื่อหา
อาหารให้กับปากท้อง  (Food for stomach) ได้ แต่ที่ยังมีปัญหาอยู่มากคือการหาอาหารให้กับสมอง (Food for Thought)ทังๆที่ อาหารสมองน่าสำคัญกว่าเพราะสามารถแก้ปัญหาเรื่องปากท้องได้ แต่น่าเสียดายว่า
ในส่วนนี้ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร  ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาน่าจะร่วมมือประสานใจกันแก้ปัญหา ยกระดับให้มนุษย์มีคุณภาพมากกว่านี้